4723 จำนวนผู้เข้าชม |
ไม่มีใครวางแผนที่จะล้มเหลว แต่มักล้มเหลว เพราะขาดการวางแผนที่ดี การเงินไม่สะดุด ด้วยสามเหลี่ยมการเงิน เป็นหลักที่ใช้ในการวางแผนการเงินส่วนบุคคล โดยประกอบไปด้วย ฐาน, ลำตัว, ยอด
1. ฐาน ความจำเป็นและการป้องกันความมั่นคงความต้องการพื้นฐาน เงินสำรองฉุกเฉิน เป็นสิ่งแรกที่ต้องมี
เงินก้อนนี้ควรเก็บไว้ที่ไหน ? ที่ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที ต้องมีความปลอดภัยสูง เงินต้นต้องไม่หาย เช่น - บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป หรือ แบบดอกเบี้ยสูง - กองทุนรวมตลาดเงิน, กองทุนรวมตราสารหนี้
2. ลำตัว เพื่อเป้าหมายในชีวิต เป้าหมายการออม จะแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ระยะสั้น มือถือ, โน้ตบุ๊ค, ท่องเที่ยว, แต่งงาน
ระยะกลาง ศึกษาต่อ, ดาวน์รถ, ดาวน์บ้าน
ระยะยาว การศึกษาบุตร, เกษียณ
เงินก้อนนี้ควรเก็บไว้ที่ไหน
- ฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง(1.50%)
- ซื้อกองทุนรวมตราสารหนี้(3.00%)
- ลงทุนที่ผลตอบแทน 8%
เมื่อเทียบผลตอบแทนกับความเสี่ยงแล้ว ได้ไม่คุ้มเสีย ดังนั้นการฝากออมทรัพย์ หรือ กองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นทางเลือกที่ดีและเหมาะสมกว่า
3. ยอด เพื่อความมั่งคั่ง และ ส่งต่อ
ทำงานหาเงินมาทั้งชีวิต ถึงเวลาแล้ว ที่เงินต้องทำงานเพื่อเรา ลงทุนเพื่อให้เงินเติบโต ผลิดอก ออกผล
สินทรัพย์การเงินเพื่อการลงทุน มีหลากหลาย เช่น หุ้นกู้, พันธบัตรรัฐบาล, กองทุนรวม, หุ้น, ทองคำ, น้ำมัน, อสังหาริมทรัพย์, งานศิลปะ, ของสะสม, ธุรกิจ เป็นต้น
Do !!!
สิ่งแรกที่ต้องมี คือ เงินสำรองฉุกเฉิน พร้อมด้วยการบริหารความเสี่ยงด้านสุขภาพและทรัพย์สิน
เป็นการวางรากฐานให้มั่นคงแข็งแรง เปรียบเสมือนฐานราก โครงสร้างของบ้าน เมื่อแข็งแรงแล้วก็พร้อมที่จะรับน้ำหนัก แรงกระแทก เผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมั่นใจ
จากนั้นจึงค่อยเก็บออม ลงทุน ให้เงินทำงานแทนเรา เติบโต ผลิดอกออกผล เพื่อสร้างความมั่งคั่งแก่ตัวเราและครอบครัว
Don’t !!!
อย่าวางแผนการเงินด้วยสามเหลี่ยมคว่ำ ที่มีด้านล่างคือฐานแหลม ด้านบนคือยอดกว้าง แสดงถึงความไม่มั่นคง โอกาสล้มเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
หากนำเงินไปลงทุนก่อนที่จะเก็บเงินสำรอง ยังไม่จัดการความเสี่ยง หรือ มีแล้ว จัดการแล้ว แต่ไม่เพียงพอ มีน้อยเกินไป หากต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่สู้ดี การลงทุนไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ หรือ เกิดเจ็บป่วย จำเป็นต้องใช้เงินก้อน ก็อาจเป็นเหตุให้ต้องขายสินทรัพย์ลงทุนในขณะที่กำลังขาดทุน มันจะเป็นการซ้ำเติมให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลงไปอีก